เมนู

ประการดังพรรณนามาฉะนี้แล.

สัญญา วิญญาณ ปัญญา


ก็เพราะเหตุที่สัญญาปรากฏ โดยกำหนดถึงอาการและสัณฐาน
ของอารมณ์ ฉะนั้น สัญญานั้น จึงทรงจำแนกไว้ในจักษุทวาร. (แต่)
เพราะเหตุที่วิญญาณปรากฏโดยกำหนดความแตกต่างเฉพาะอย่างของ
อารมณ์ เว้น (การกำหนด) อาการและสัณฐาน ฉะนั้น วิญญาณนั้นจึง
ทรงจำแนกไว้ในชิวหาทวาร.
อนึ่ง เพื่อกำหนดถึงสภาวะของสัญญาและวิญญาณเหล่านี้โดย
ไม่งมงาย จึงควรทราบถึงความแปลกกันในบทเหล่านี้ว่า สญฺชานาติ
(จำได้) วิชานาติ (รู้แจ้ง) ปชานาติ (รู้ชัด).
ในบททั้ง 3 นั้น เพียงแต่อุปสรรค (สํ, วิ, ป) เท่านั้นที่แปลกกัน
ส่วนบทว่า ชานาติ ไม่แปลกกันเลย. อนึ่ง เพราะบทว่า ชานาติ นั้น
มีความหมายว่า รู้ จึงควรทราบความแปลกกันดังต่อไปนี้ :-
อธิบายว่า สัญญาเป็นเพียงการจำได้หมายรู้อารมณ์โดยเป็น
สีเขียวเป็นต้นเท่านั้น (แต่) ไม่สามารถให้ถึงการแทงตลอด (สามัญญ)
ลักษณะคือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาได้.
วิญญาณ ย่อมรู้อารมณ์โดยเป็นสีเขียวเป็นต้น และให้ถึงการแทง
ตลอด (สามัญญ) ลักษณะมีไม่เที่ยงเป็นต้น แต่ไม่สามารถให้ก้าวไปถึง
มรรคปรากฏ (รู้แจ้งมรรค) ได้.
ปัญญา ย่อมรู้แจ้งอารมณ์โดยเป็นสีเขียวเป็นต้นด้วย ย่อมให้
ถึงการแทงตลอด (สามัญญ) ลักษณะ โดยเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นด้วย
ทั้งให้ก้าวไปถึงความปรากฏแห่งมรรค (รู้แจ้งมรรค) ด้วย.

เปรียบเทียบ


เปรียบเหมือน เมื่อเหรัญญิกนำกหาปณะมาทำเป็นกองไว้บน
แผ่นกระดานของเหรัญญิก เมื่อคน 3 คน คือ เด็กไร้เตียงสา ชาวบ้าน
ธรรมดา (และ) เหรัญญิกผู้เชี่ยวชาญ ยืนมองดู เด็กไร้เดียงสา รู้แต่
เพียงว่า กหาปณะทั้งหลายสวยงาม วิจิตร (มีลักษณะ) สี่เหลี่ยม และ
กลมเป็นต้น (แต่) หารู้ไม่ว่า นี้เป็นรตนสมมติ ที่ใช้เป็นเครื่องอุปโภค
บริโภค ของมนุษย์ทั้งหลาย.
ชาวบ้านธรรมดา รู้ว่า กหาปณะทั้งหลายสวยงามเป็นต้น
เป็นรตนสมมติ ที่เป็นเครื่องอุปโภคและบริโภคของมนุษย์ทั้งหลาย
และรู้ว่า เป็นรตนสมมติ ที่เป็นเครื่องอุปโภคและบริโภคของมนุษย์
ทั้งหลาย. แต่หารู้ไม่ว่า นี้เป็นของปลอม นี้เป็นของแท้ นี้เนื้อไม่ดี
นี้เนื้อดี.
เหรัญญิกผู้เชี่ยวชาญ ย่อมรู้ว่า กหาปณะทั้งหลายสวยงาม
เป็นต้น ย่อมรู้ว่า กหาปณะทั้งหลายเรียกว่า รัตนะ ทั้งย่อมรู้ว่า
เป็นของปลอมเป็นต้นด้วย
ก็แลเมื่อรู้ พอได้เห็นรูปบ้าง ได้ยินเสียง (เคาะ) บ้าง ได้ดมกลิ่น
บ้าง ได้ลิ้มรสบ้าง ใช้มือชั่งดูถึงความหนักเบาบ้าง ก็ทราบได้ (ทันที)
ว่า ทำที่หมู่บ้านโน้นบ้าง ทราบว่า ทำที่นิคมโน้น ที่เมืองโน้น ที่ร่มเงา
ภูเขาโน้น (และ) ที่ริมฝั่งแม่น้ำโน้นบ้าง ทราบว่า อาจารย์โน้นทำบ้าง
ฉันใด (สัญญา วิญญาณ และปัญญา) ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (คือ) สัญญา
ย่อมจำได้หมายรู้แต่เพียงอารมณ์ว่าเป็นสีเขียวเป็นต้นเท่านั้น เปรียบ
เหมือนเด็กน้อยไร้เดียงสาเห็นกหาปณะฉะนั้น.